หมากเม่า
การเรียกชื่อหมากเม่า
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
หมากเม่า หรือเม่าหลวง
จัดเป็นไม้ยืนต้นที่ไม่พลัดใบ ลำต้นสูงประมาณ 6-15 เมตร
ออกดอกเป็นช่อที่ปลายยอดกิ่ง ช่อดอกคล้ายช่อพริกไทย ดอกจะแยกเพศต่างต้น ออกดอกปีละ
1 ครั้งในเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ใบเป็นใบเดี่ยวสีเขียวเข้ม
มีการเรียงตัวแบบสลับ ผลหมากเม่าจัดเป็นไม้ผลชนิดฉ่ำน้ำ ขนาดผลรูปวงรี กว้าง 0.7-1.0
เซนติเมตร ยาว 0.8-1.3 เซนติเมตร ก้านผลยาว 0.3-0.5
เซนติเมตร ผลอ่อนมีสีเขียวหรือสีขาวนวล ผลเริ่มแก่มีสีแดง ผลสุกมีสีดำ
ผลดิบมีรสเปรี้ยว ผลสุกมีรสหวานอมเปรี้ยวและฝาด ลักษณะของช่อผลจะยาวหรือสั้น ผลดก
ลูกเล็กหรือลูกใหญ่ ผลมีรสหวาน รสฝาด หรือเปรี้ยว
ขึ้นอยู่กับลักษณะของสายพันธุ์ต้นหมากเม่าของแต่ละต้น การติดผลติดปีเว้นปี ผลเมื่อสุกแก่เต็มที่เมล็ดสีน้ำตาล
เมล็ดมีการพักตัวใช้เวลางอกหลังเพาะ 1-3 เดือน
ผลสุกระหว่างปลายเดือนกรกฎาคม สุกเต็มที่เดือนสิงหาคม
และเริ่มวายในเดือนกันยายนของทุกปี
ประโยชน์ หมากเม่า
1.
ผลดิบสีเขียวอ่อน ประกอบอาหารคล้ายส้มตำเม่า
2.
ผลแก่สีแดงมีรสเปรี้ยว ส่วนผลแก่จัดสีดำม่วง จะมีรสหวานอมเปรี้ยว
รับประทานเป็นผลไม้สด
3.
ผลมีสรรพคุณเป็นยาระบายและบำรุงสายตา
ใบสดนำมาอังไฟเพื่อใช้ประคบแก้อาการฟกช้ำดำเขียว
เปลือกต้นเม่าใช้เป็นส่วนประกอบของลูกประคบ
4.
ผลหมากเม่าสุก มีกรดอะมิโน 18 ชนิด แคลเซียม
เหล็ก สังกะสี วิตามิน B1 B2 C และ E
5.
น้ำเม่าสกัดเข้มข้น 100% มีสารอาหาร
วิตามินหลายชนิด ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกาย รวมทั้ง มีสารต้านอนุมูลอิสระ
6.ไวน์หมากเม่า มีสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็ง
ลักษณะดีเด่นของมะเม่าคือ มีสารอาหารที่ร่างกายต้องการหลายชนิด
เช่น แคลเซียม เหล็ก วิตามินอี วิตามินบี 1 และบี 2 มีกรดอะมิโม และสารแอนโธไซยานิน ซึ่งให้สีม่วงแดง
มีฤทธิ์ทำให้เส้นเลือดมีความยืดหยุ่นดี โดยเฉพาะเส้นเลือดที่ไปหล่อเลี้ยงสายตา
และยังมีคุณสมบัติเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระ
ป้องกันการแก่ชราของเซลล์และเพิ่มภูมิคุ้มกันอีกด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น